วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาษา การศึกษา และศาสนา

ภาษา ภาษาชาวนครไทยหรือภาษานครไทย เป็นชื่อภาษาถิ่นที่คนพื้นบ้านชาวนครไทยแท้ ๆ มักกล่าวถึงภาษาของตนเองว่า “คนนครไทยพูดภาษาลาวก็ไม่ใช่ พูดภาษาไทยก็ไม่เป็น”
ภาษานครไทยที่มีลักษณะเด่นคือ คนท้องถิ่นนครไทยโบราณจะเรียกคำนำหน้าชื่อผลไม้ว่า “หมาก” ทุกชนิด
เช่น หมากม่วง (มะม่วง) หมากพร้าว (มะพร้าว) หมากกอ (มะละกอ) หมากซา (พุทรา)หมากโอ (ส้มโอ) หมากเกี๋ยง (ส้มเกลี้ยง) หมากขนุน (ขนุน) เป็นต้น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่า คนนครไทยเรียกชื่อผลไม้เหมือนชาวสุโขทัยโบราณ
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ เชื่อกันว่าเป็นภาษาพูดที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนบางกลางหาว เป็นภาษาพูดที่แสดงออกถึงความเป็นชาวนครไทย โดยทั่วไปแล้ว ภาษาถิ่นนครไทยก็ไม่แตกต่างจากภาษาถิ่นอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นักแต่สิ่งที่ชวนให้ลักษณะภาษาถิ่นนครไทยมีเสียงพยัญชนะ สระ ไปคล้ายกับภาษาถิ่นภาคเหนือ (ล้านนา) และภาษาอีสาน โดยเฉพาะด้านคำศัพท์บางคำจะเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงเสียงวรรณยุกต์บ้างเท่านั้น

การศึกษา ในอำเภอนครไทยมีสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา
-โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 60 แห่ง (โรงเรียนของรัฐ) เป็นโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน 1 แห่ง และโรงเรียนสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
- สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษามี 7 แห่ง

ศาสนา
ประชาชนในอำเภอนครไทยนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 99.20
มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 0.16 ภาย
ในอำเภอนครไทยมีพื้นที่ประกอบศาสนากิจทางด้านศาสนาพุทธ ได้แก่ วัดพัทธสีมา 7 แห่ง สำนักสงฆ์ 50 แห่ง ที่พักพระสงฆ์ 19 แห่ง สำหรับที่เรียนและสถานที่เผยแพร่พุทธศาสนาประกอบด้วยโรงเรียนปริยัติธรรม 3 แห่ง และหน่วยอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.บ.ต.) 1 แห่ง
นอกจากประชาชนจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์แล้ว ยังมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่หลายครอบครัว ซึ่งอยู่ส่วนใหญ่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลบาลอำเภอนครไทยประชาชนชาวนครไทยทั้งในพื้นที่ราบและชาวไทยภูเขาเกือบทุกครอบครัว ในอดีตจะเคารพนับถือภูตผีและวิญญาณ เช่น จะปรากฏผีพ่อเฒ่าเจ้าเรือนหรือศาลผีเรือนทำเป็นหิ้งอยู่ในห้องนอนของแต่ละครอบครัว ศาลผีประจำหมู่บ้านซึ่งประชาชนเชื่อว่าจะทำหน้าที่คุ้มครองผู้คนทั้งตำบลหรือทั้ง หมู่บ้าน อังนั้นจึงมีคนทรงสำหรับติดต่อวิญญาณ ปัจจุบันการนับถือผีมีน้อยลงและประชาชนไม่ได้แสดงออกถึงความเชื่อ ดังกล่าวแล้วเหมือนในอดีต แต่ยังคงยึดถือปฏิบัติ และแสดงความเคารพตามประเพณีประจำปีทุกปีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น