วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
โครงสร้างทางสังคม
สังคมของชาวนครไทยประกอบด้วยประชากร 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คนพื้นเมืองและคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน บุคคลทั้งสองกลุ่มได้นำวัฒนธรรมดั่งเดิมของตนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นนครไทยจนกลายเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น ภาษา และความเชื่อ สภาพความเป็นอยู่ของชาวนครไทยประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบง่าย ๆ ให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโส นับถือญาติ ผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส มีความสามัคคี มีน้ำใจโอบอ้อมอารี ในอดีต (ประมาณพุทธศักราช 2520-2527) ในเขตอำเภอนครไทยไม่มีโจรผู้ร้าย กลางคืนไม่ต้องปิดประตูบ้านและของใช้ต่าง ๆ ที่วางทิ้งไว้นอกบ้านจะไม่หาย ส่วนลักษณะครอบครัวของชาวนครไทยจะมีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยปู่ย่า ตา ยาย พ่อ แม่และลูก เมื่อแต่งงานแล้วจะปลูก
บ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ครอบครัวเดิม ทุกครอบครัวจะมีความสัมพันธ์กันด้านแรงงาน คือ มีการช่วยเหลือกันทำงาน เช่น ลงแขก และถ้าบุคคลใดอพยพไปอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับมาประกอบพิธีกรรมหรือมาร่วมงานของท้องถิ่น เช่น งานพิธีปักธงชัย พิธีบวชพระ พิธีไหว้บรรพบุรุษ และสภาพทั่ว ๆ ไปด้านความเป็นอยู่ในปัจจุบันอำเภอนครไทยมีความเจริญมีตลาดสด มีที่จอดรถ มีถนนที่จัดอยู่ในระดับพัฒนาแล้วสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง เช่น ในยุค I M F ทำให้สภาพโครงสร้างทางสังคมของชาวนครไทยเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น ไม่มีการลงแขก มีการว่าจ้างแทนและมีโจรกรรมมากขึ้นแต่เรื่องน้ำใจชาวนครไทยยังมีความผูกพันในระบบเครือญาติดีมากและยังไม่ทิ้งประเพณีเก่าแก่ของสังคมพื้นบ้านของชาวนครไทย คือ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันตลอดมา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น