วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นครไทยเมืองแห่งโบราณคดี

พระพุทธรูปศิลา
ประวัติความเป็นมาจากหลักฐานการวิจัยเรื่องเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณ คดีที่เมืองนครไทยสรุปได้ว่าเมืองนคร ไทยมีอายุร่วมสมัยกับเมืองเชลียง อำเภอศรี สัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย หรือ มีอายุร่วม สมัยกับเมือง บางยาง คือ มีอายุประมาณ พ.ศ. 1700 เป็นต้นมา

ลักษณะทั่วไป
เป็นเนินดินธรรมชาติมีพื้นที่ประมาณ 142 ไร่ พื้นที่โดยรอบเนินดินอัน เป็นที่ตั้งเมืองโบราณ เป็นที่ราบลุ่มหุบเขา และมีภูเขาล้อมรอบ ส่วนรอบเมืองนครไทย โบราณยังปรากฏซากคูน้ำคันดิน 3 ชั้นล้อม รอบ ในปัจจุบันได้มีหน่วยงาน อาคาร ร้านค้า สร้างซ้อนทับแหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย อยู่

หลักฐานที่พบ
ได้สำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็น จำนวนมาก ได้แก่
1. ภาพสลักหินยุคหินใหม่ 2 แห่งที่ผนัง ถ้ำเขาช้างล้วงและที่ผาขีด เขาภู ขัด อำเภอนครไทย
2. วัดโบราณ ได้แก่ วัดกลางศรีพุทธาราม วัดเหนือ และวัดหัวร้อง ฯลฯ
3. เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติ ศาสตร์ เช่น ขวานหิน ขวานโลหะ เครื่องประดับ เป็นต้น
4. ใบเสมาศิลาทราย แกะสลักเป็นพระสถูป ศิลปแบบทวาราวดีตอนปลาย
5. พระพุทธรูปเก่าแก่ เช่น พระพุทธรูป ศิลา นาคปรก 3 องค์ และ พระพุทธรูปศิลปสุโข ทัย 2 องค์
6. เครื่องถ้วยมีรูปแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย อยุธยาและเครื่องถ้วยจีน และยัง พบโบราณวัตถุอื่น เช่น เบี้ย เงินพดด้วง ขันลงหิน เป็นต้น
7. โบราณวัตถุอื่น ได้แก่ กระจกและเครื่อง ประดับที่ทำจากหิน เงินพดด้วง เบี้ย ขันลงหิน เป็นต้น

เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย
จากตัวเมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือประมาณ 96 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่น ดินสายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตร ที่ 67 ผ่านตำบลบ้านแยง อีก 29 กิโลเมตรถึง เมืองนครไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น