ผู้เขียนเอง มีภรรยาอยู่นครไทย และเคยเข้าใช้บริการที่ อำเภอนครไทย รู้สึกประทับใจในเรื่องการบริการ ห้องคลอดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งได้ให้ภรรยา คลอดบุตรทั้งสองคน ที่อำเภอนครไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 55
พนักงานพูดจาเพราะ และการบริการที่ดี ค่ารักษาพยาบาลก็ไม่แพง การรักษาก็ไม่แพ้โรงบาลเอกชนแถวในเมือง ครับ ผู้เขียนขอขอบคุณพนักงานที่ดูแลเราอย่างเป็นกันเองครับ
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ "พ่อขุนบางกลางท่าว"
http://issuu.com/nakhonthai
พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระบรมนามาภิไธย พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์ ไม่ทราบ
พระมเหสี พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางท่าว ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด
พระนาม
1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณราช
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช
สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง
พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์
พระนางเสือง
นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า “...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...”
คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือ นางเสืองนั่นเอง
สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ(กษัตริย์)จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง
ทางจังหวัดจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี
ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย
แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาชีพของชาวนครไทย
เกษตรกรรม อาชีพหลักชาวนครไทย คือการเกษตรกรรมและเกษตรกรชาวนครไทยส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพเกษตรตามวิธีแบบเก่า คือพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ หากปีใดฝนตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตก็จะดีตามไปด้วย หากปีใดฝนตกน้อยผลผลิตก็จะลดลง
ความนิยมด้านเกษตรกรรม
การเพาะปลูกพืชไร่
เกษตรกรนิยมเพาะปลูกพืชไร่อันดับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกไร่มากถึง 257,015 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 75.75 ของพื้นที่ถือครองทำการเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่ พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว มันสำปะหลังและถั่วลิสง
การทำนา เป็นอาชีพอันดับสองรองจากพืชไร่ คือ นาประมาณ 58,244 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 17.11 ของเนื้อที่ถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,347 ไร่
การทำสวน
ชาวนครไทยนิยมทำสวนผลไม้ไว้ตามบริเวณหลังบ้าน หรือบริเวณหัวไร่หรือปลายนา ผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ มะม่วง มะขาม ส้มโอ กระท้อน กล้วยน้ำหว้า พบว่าเนื้อที่ที่ใช้ปลูกผลไม้มีประมาณ 21,444 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.24 ของเนื้อที่การถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่
การปลูกพืชผัก
จากการสำรวจพบว่าประชากรในเขตอำเภอนครไทยนิยมปลูกพืชผักประมาณ 3,671 ไร่ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นอาชีพเสริมหรือปลูกไว้รับประทานในครอบครัวโดยใช้เวลาว่างจากการทำไร่ ทำนา แต่การปลูกพืชจะปลูกตลอดปีและนิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูหนาว
หัตถกรรมพื้นบ้าน ประชากรในเขตอำเภอนครไทยเกือบทุกครอบครัวจะนิยมทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว ปัจจุบันทางศูนย์วัฒนธรรมอำเภอนครไทยได้พยายามฟื้นฟูอาชีพทอผ้า แต่ความนิยมเรื่องหัตถกรรมทอผ้าก็ยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กนอกจากทอผ้าก็ยังมีอาชีพทำไม้กวาดที่บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว และชาวไทยภูเขาบนพื้นที่ภูหินร่องกล้า มีการผลิตดอกไม้กวาดโดยจัดประดิษฐ์เรียงเป็นก้าน ประดิษฐ์เป็นพุ่มรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวไทยภูเขา ตลอดปี
ความนิยมด้านเกษตรกรรม
การเพาะปลูกพืชไร่
เกษตรกรนิยมเพาะปลูกพืชไร่อันดับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกไร่มากถึง 257,015 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 75.75 ของพื้นที่ถือครองทำการเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่ พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว มันสำปะหลังและถั่วลิสง
การทำนา เป็นอาชีพอันดับสองรองจากพืชไร่ คือ นาประมาณ 58,244 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 17.11 ของเนื้อที่ถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,347 ไร่
การทำสวน
ชาวนครไทยนิยมทำสวนผลไม้ไว้ตามบริเวณหลังบ้าน หรือบริเวณหัวไร่หรือปลายนา ผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ มะม่วง มะขาม ส้มโอ กระท้อน กล้วยน้ำหว้า พบว่าเนื้อที่ที่ใช้ปลูกผลไม้มีประมาณ 21,444 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.24 ของเนื้อที่การถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่
การปลูกพืชผัก
จากการสำรวจพบว่าประชากรในเขตอำเภอนครไทยนิยมปลูกพืชผักประมาณ 3,671 ไร่ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นอาชีพเสริมหรือปลูกไว้รับประทานในครอบครัวโดยใช้เวลาว่างจากการทำไร่ ทำนา แต่การปลูกพืชจะปลูกตลอดปีและนิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูหนาว
หัตถกรรมพื้นบ้าน ประชากรในเขตอำเภอนครไทยเกือบทุกครอบครัวจะนิยมทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว ปัจจุบันทางศูนย์วัฒนธรรมอำเภอนครไทยได้พยายามฟื้นฟูอาชีพทอผ้า แต่ความนิยมเรื่องหัตถกรรมทอผ้าก็ยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กนอกจากทอผ้าก็ยังมีอาชีพทำไม้กวาดที่บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว และชาวไทยภูเขาบนพื้นที่ภูหินร่องกล้า มีการผลิตดอกไม้กวาดโดยจัดประดิษฐ์เรียงเป็นก้าน ประดิษฐ์เป็นพุ่มรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวไทยภูเขา ตลอดปี
ธุรกิจและการค้าขายของนครไทย
แหล่งธุรกิจการค้า เขตเทศบาลของอำเภอนครไทยถูกจัดเป็นแหล่งธุรกิจการค้าที่สำคัญโดยมีตลาดเทศบาลเป็นแหล่งหรือเป็นศูนย์กลางค้าขาย ราคาซื้อขายถ้าเป็นของพื้นบ้าน จะราคาถูกกว่าราคาขายในอำเภอเมืองพิษณุโลก
อำเภอนครไทยมีสถาบันทางการเงิน 3 แห่ง คือ
1. ธนาคารออมสิน เปิดทำการเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2526
2. ธนาคารกรุงไทย เปิดทำการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2527
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร เปิดบริการด้านการเงินแก่สมาชิกกลุ่มสหกรณ์และบุคคลทั่วไป
4.ธนาคารไทยพานิชย์
อำเภอนครไทยมีสถาบันทางการเงิน 3 แห่ง คือ
1. ธนาคารออมสิน เปิดทำการเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2526
2. ธนาคารกรุงไทย เปิดทำการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2527
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร เปิดบริการด้านการเงินแก่สมาชิกกลุ่มสหกรณ์และบุคคลทั่วไป
4.ธนาคารไทยพานิชย์
การคมนาคมและเศรษฐกิจของนครไทย
คมนาคมในอดีตเมืองนครไทย ใช้แม่น้ำแควน้อย และสาขาเป็นเส้นทางคมนาคมทั้งภายในชุมชุนและเมืองใกล้เคียง นอกจากการคมนาคมทางน้ำชาวนครไทยนิยมใช้การคมนาคมทางบก คือการเดินและการใช้ม้า แต่ปัจจุบันมีถนนลาดยางและคอนกรีตผ่านตำบลต่าง ๆ ได้สะดวก ส่วนอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ มีถนนลาดยางสายสำคัญ ๆ 3 สาย ดังนี้
1. ถนนสายนครไทย-บ้านแยง เป็นถนนที่สร้างติดต่อกับถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก
2. ถนนสายนครไทย-ชาติตระการ เป็นถนนผ่านหุบเขาแคบ ๆ ระหว่างนครไทย -ชาติตระการ ถนนสายนี้สร้างติดต่อกับทางหลวงสายสุโขทัย-อุตรดิตถ์
3. ถนนสายนครไทย-อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ถนนสายนี้สร้างเชื่อมติดต่อกับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพเศรษฐกิจชาวนครไทยมีรายได้ ส่วนหนึ่งจาก สภาพภูมิประเทศ เพราะพื้นที่ของอำเภอนครไทยส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาในพื้นที่จึงอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ ของป่า สัตว์ป่าและแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม แต่ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าจับจองพื้นที่ป่าทำไร่ ทำนาและสร้างที่อยู่อาศัย จึงทำให้รายได้ของประชากรลดลง ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ทางราชการจึงได้ประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ในเขตอำเภอนครไทยเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
1. ถนนสายนครไทย-บ้านแยง เป็นถนนที่สร้างติดต่อกับถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก
2. ถนนสายนครไทย-ชาติตระการ เป็นถนนผ่านหุบเขาแคบ ๆ ระหว่างนครไทย -ชาติตระการ ถนนสายนี้สร้างติดต่อกับทางหลวงสายสุโขทัย-อุตรดิตถ์
3. ถนนสายนครไทย-อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ถนนสายนี้สร้างเชื่อมติดต่อกับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพเศรษฐกิจชาวนครไทยมีรายได้ ส่วนหนึ่งจาก สภาพภูมิประเทศ เพราะพื้นที่ของอำเภอนครไทยส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาในพื้นที่จึงอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ ของป่า สัตว์ป่าและแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม แต่ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าจับจองพื้นที่ป่าทำไร่ ทำนาและสร้างที่อยู่อาศัย จึงทำให้รายได้ของประชากรลดลง ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ทางราชการจึงได้ประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ในเขตอำเภอนครไทยเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ดินน้ำอากาศของนครไทย
ธรณีวิทยาโครงสร้างทางธรณีวิทยาของนครไทย พื้นที่มีหินเป็นพื้นฐาน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินทราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มหินโคราชหมวดหินภูพานและหมวดหินเขาพระวิหาร มีลักษณะเป็นหินกรวดมน เนื้อแน่น ชั้นหนา มีสีเทาแกมเหลืองไปจนสีชมพูแกมเทาและหินทรายมีเนื้อแน่นชั้นหนามีสีแดงแกมเทาไปจนถึงสีเทาแกมเขียวและขาว กับมีหินดินดานสีน้ำตาลแกมแดงเข้มเนื้อปนไม้ก้าและหินทรายสีแดงแกมเทาเนื้อเปาไมก้า ลักษณะนี้จัดอยู่ในยุคยูเรสสิก มหายุคเมโสโซอิคและบางส่วนจัดอยู่ในหมู่หินภูกระดึง ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินดินดานเนื้อปนไมก้าน้ำตาลเข้มแกมเทาและแดง กับหินทรายแห้ง หินทรายเนื้อปนไมก้าและหินกรวดมน จัดอยู่ในยุคยูแรสสิกและไทรแอสสิก (Jurassic and Trassic) มหายุคเมโสโซิค แหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำสำคัญสายหลักของชุมชนเมืองนครไทย คือแม่น้ำแควน้อย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากการรวมตัวของลำห้วยหลายสายจากชายแดนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อยแล้วไหลผ่านพื้นที่ของอำเภอนาแห้วจังหวัดเลย ไหลเข้าไปในเขตพื้นที่ของอำเภอนครไทยตรงบริเวณ ตำบลน้ำกุ่ม ผ่านตำบลนครชุม นาบัว เนินเพิ่ม นครไทยและหนองกะท้าว ไหลผ่านไปยังท้องที่ของอำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม ไหลผ่านตำบลโคกช้างอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและไหลไปรวมกับแม่น้ำวังทอง ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านที่ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตรนอกจากแม่น้ำแควน้อย ยังมีมีลำห้วยอีกหลายสาย เช่น ห้วยน้ำคาน ห้วยน้ำขะมึน เกิดจากทิวเขาข้อโปงและทิวเขาหินร่องกล้า ห้วยจอมสิงห์เกิดจากเขาน้อย และมีห้วยเผาลาด ห้วยบัวไหล ห้วยน้ำพริก ซึ่งเกิดจากเทือกเขาทางด้านตะวันออก แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อยในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ภูมิอากาศเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ของเมืองนครไทยประกอบด้วย ที่ราบ หุบเขาและภูเขาสูง จึงทำให้มีภูมิอากาศแตกต่างจากอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้
ฤดูร้อน อากาศแห้งแล้ง ร้อนจัดในเดือนเมษายนและไปสิ้นสุดฤดูร้อนในเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคมอากาศในเดือนนี้จะมีความชื้นสูง มีฝนตกชุก ตอนกลางคืน อากาศเย็นถึงเย็นมาก
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคมไปถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ช่วงนี้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นที่สุดประมาณ 7-3 องศาเซลเซียส
ภูมิอากาศเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ของเมืองนครไทยประกอบด้วย ที่ราบ หุบเขาและภูเขาสูง จึงทำให้มีภูมิอากาศแตกต่างจากอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้
ฤดูร้อน อากาศแห้งแล้ง ร้อนจัดในเดือนเมษายนและไปสิ้นสุดฤดูร้อนในเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคมอากาศในเดือนนี้จะมีความชื้นสูง มีฝนตกชุก ตอนกลางคืน อากาศเย็นถึงเย็นมาก
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคมไปถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ช่วงนี้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นที่สุดประมาณ 7-3 องศาเซลเซียส
ภาษา การศึกษา และศาสนา
ภาษา ภาษาชาวนครไทยหรือภาษานครไทย เป็นชื่อภาษาถิ่นที่คนพื้นบ้านชาวนครไทยแท้ ๆ มักกล่าวถึงภาษาของตนเองว่า “คนนครไทยพูดภาษาลาวก็ไม่ใช่ พูดภาษาไทยก็ไม่เป็น”
ภาษานครไทยที่มีลักษณะเด่นคือ คนท้องถิ่นนครไทยโบราณจะเรียกคำนำหน้าชื่อผลไม้ว่า “หมาก” ทุกชนิด
เช่น หมากม่วง (มะม่วง) หมากพร้าว (มะพร้าว) หมากกอ (มะละกอ) หมากซา (พุทรา)หมากโอ (ส้มโอ) หมากเกี๋ยง (ส้มเกลี้ยง) หมากขนุน (ขนุน) เป็นต้น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่า คนนครไทยเรียกชื่อผลไม้เหมือนชาวสุโขทัยโบราณ
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ เชื่อกันว่าเป็นภาษาพูดที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนบางกลางหาว เป็นภาษาพูดที่แสดงออกถึงความเป็นชาวนครไทย โดยทั่วไปแล้ว ภาษาถิ่นนครไทยก็ไม่แตกต่างจากภาษาถิ่นอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นักแต่สิ่งที่ชวนให้ลักษณะภาษาถิ่นนครไทยมีเสียงพยัญชนะ สระ ไปคล้ายกับภาษาถิ่นภาคเหนือ (ล้านนา) และภาษาอีสาน โดยเฉพาะด้านคำศัพท์บางคำจะเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงเสียงวรรณยุกต์บ้างเท่านั้น
การศึกษา ในอำเภอนครไทยมีสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา
-โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 60 แห่ง (โรงเรียนของรัฐ) เป็นโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน 1 แห่ง และโรงเรียนสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
- สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษามี 7 แห่ง
ศาสนา
ประชาชนในอำเภอนครไทยนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 99.20
มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 0.16 ภาย
ในอำเภอนครไทยมีพื้นที่ประกอบศาสนากิจทางด้านศาสนาพุทธ ได้แก่ วัดพัทธสีมา 7 แห่ง สำนักสงฆ์ 50 แห่ง ที่พักพระสงฆ์ 19 แห่ง สำหรับที่เรียนและสถานที่เผยแพร่พุทธศาสนาประกอบด้วยโรงเรียนปริยัติธรรม 3 แห่ง และหน่วยอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.บ.ต.) 1 แห่ง
นอกจากประชาชนจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์แล้ว ยังมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่หลายครอบครัว ซึ่งอยู่ส่วนใหญ่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลบาลอำเภอนครไทยประชาชนชาวนครไทยทั้งในพื้นที่ราบและชาวไทยภูเขาเกือบทุกครอบครัว ในอดีตจะเคารพนับถือภูตผีและวิญญาณ เช่น จะปรากฏผีพ่อเฒ่าเจ้าเรือนหรือศาลผีเรือนทำเป็นหิ้งอยู่ในห้องนอนของแต่ละครอบครัว ศาลผีประจำหมู่บ้านซึ่งประชาชนเชื่อว่าจะทำหน้าที่คุ้มครองผู้คนทั้งตำบลหรือทั้ง หมู่บ้าน อังนั้นจึงมีคนทรงสำหรับติดต่อวิญญาณ ปัจจุบันการนับถือผีมีน้อยลงและประชาชนไม่ได้แสดงออกถึงความเชื่อ ดังกล่าวแล้วเหมือนในอดีต แต่ยังคงยึดถือปฏิบัติ และแสดงความเคารพตามประเพณีประจำปีทุกปีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
ภาษานครไทยที่มีลักษณะเด่นคือ คนท้องถิ่นนครไทยโบราณจะเรียกคำนำหน้าชื่อผลไม้ว่า “หมาก” ทุกชนิด
เช่น หมากม่วง (มะม่วง) หมากพร้าว (มะพร้าว) หมากกอ (มะละกอ) หมากซา (พุทรา)หมากโอ (ส้มโอ) หมากเกี๋ยง (ส้มเกลี้ยง) หมากขนุน (ขนุน) เป็นต้น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่า คนนครไทยเรียกชื่อผลไม้เหมือนชาวสุโขทัยโบราณ
ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ เชื่อกันว่าเป็นภาษาพูดที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนบางกลางหาว เป็นภาษาพูดที่แสดงออกถึงความเป็นชาวนครไทย โดยทั่วไปแล้ว ภาษาถิ่นนครไทยก็ไม่แตกต่างจากภาษาถิ่นอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นักแต่สิ่งที่ชวนให้ลักษณะภาษาถิ่นนครไทยมีเสียงพยัญชนะ สระ ไปคล้ายกับภาษาถิ่นภาคเหนือ (ล้านนา) และภาษาอีสาน โดยเฉพาะด้านคำศัพท์บางคำจะเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงเสียงวรรณยุกต์บ้างเท่านั้น
การศึกษา ในอำเภอนครไทยมีสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา
-โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 60 แห่ง (โรงเรียนของรัฐ) เป็นโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน 1 แห่ง และโรงเรียนสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
- สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษามี 7 แห่ง
ศาสนา
ประชาชนในอำเภอนครไทยนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 99.20
มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 0.16 ภาย
ในอำเภอนครไทยมีพื้นที่ประกอบศาสนากิจทางด้านศาสนาพุทธ ได้แก่ วัดพัทธสีมา 7 แห่ง สำนักสงฆ์ 50 แห่ง ที่พักพระสงฆ์ 19 แห่ง สำหรับที่เรียนและสถานที่เผยแพร่พุทธศาสนาประกอบด้วยโรงเรียนปริยัติธรรม 3 แห่ง และหน่วยอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.บ.ต.) 1 แห่ง
นอกจากประชาชนจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์แล้ว ยังมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่หลายครอบครัว ซึ่งอยู่ส่วนใหญ่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลบาลอำเภอนครไทยประชาชนชาวนครไทยทั้งในพื้นที่ราบและชาวไทยภูเขาเกือบทุกครอบครัว ในอดีตจะเคารพนับถือภูตผีและวิญญาณ เช่น จะปรากฏผีพ่อเฒ่าเจ้าเรือนหรือศาลผีเรือนทำเป็นหิ้งอยู่ในห้องนอนของแต่ละครอบครัว ศาลผีประจำหมู่บ้านซึ่งประชาชนเชื่อว่าจะทำหน้าที่คุ้มครองผู้คนทั้งตำบลหรือทั้ง หมู่บ้าน อังนั้นจึงมีคนทรงสำหรับติดต่อวิญญาณ ปัจจุบันการนับถือผีมีน้อยลงและประชาชนไม่ได้แสดงออกถึงความเชื่อ ดังกล่าวแล้วเหมือนในอดีต แต่ยังคงยึดถือปฏิบัติ และแสดงความเคารพตามประเพณีประจำปีทุกปีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
โครงสร้างทางสังคม
สังคมของชาวนครไทยประกอบด้วยประชากร 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คนพื้นเมืองและคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน บุคคลทั้งสองกลุ่มได้นำวัฒนธรรมดั่งเดิมของตนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นนครไทยจนกลายเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น ภาษา และความเชื่อ สภาพความเป็นอยู่ของชาวนครไทยประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบง่าย ๆ ให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโส นับถือญาติ ผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส มีความสามัคคี มีน้ำใจโอบอ้อมอารี ในอดีต (ประมาณพุทธศักราช 2520-2527) ในเขตอำเภอนครไทยไม่มีโจรผู้ร้าย กลางคืนไม่ต้องปิดประตูบ้านและของใช้ต่าง ๆ ที่วางทิ้งไว้นอกบ้านจะไม่หาย ส่วนลักษณะครอบครัวของชาวนครไทยจะมีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยปู่ย่า ตา ยาย พ่อ แม่และลูก เมื่อแต่งงานแล้วจะปลูก
บ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ครอบครัวเดิม ทุกครอบครัวจะมีความสัมพันธ์กันด้านแรงงาน คือ มีการช่วยเหลือกันทำงาน เช่น ลงแขก และถ้าบุคคลใดอพยพไปอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับมาประกอบพิธีกรรมหรือมาร่วมงานของท้องถิ่น เช่น งานพิธีปักธงชัย พิธีบวชพระ พิธีไหว้บรรพบุรุษ และสภาพทั่ว ๆ ไปด้านความเป็นอยู่ในปัจจุบันอำเภอนครไทยมีความเจริญมีตลาดสด มีที่จอดรถ มีถนนที่จัดอยู่ในระดับพัฒนาแล้วสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง เช่น ในยุค I M F ทำให้สภาพโครงสร้างทางสังคมของชาวนครไทยเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น ไม่มีการลงแขก มีการว่าจ้างแทนและมีโจรกรรมมากขึ้นแต่เรื่องน้ำใจชาวนครไทยยังมีความผูกพันในระบบเครือญาติดีมากและยังไม่ทิ้งประเพณีเก่าแก่ของสังคมพื้นบ้านของชาวนครไทย คือ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันตลอดมา
อาณาเขตติดต่อ และลักษณะภูมิประเทศ นครไทย
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอชาติตระการ และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
อำเภอนครไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16O 47’ 01” ถึง 17O28’ 01” เหนือและเส้นแวงที่ 100O 35’ 24” ตะวันออก
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของอำเภอนครไทย แบ่งออกเป็น 3 เขต ใหญ่ ๆ คือ
1. เขตที่ราบภูเขา พื้นที่ราบของเมืองนครไทย มีรูปแบบ กระทะหงาย มีพื้นที่สูงและภูเขาเป็นขอบของที่ราบ ตอนกลางของที่ราบเป็นที่ตั้งตัวเมืองนครไทย มีลักษณะเป็นเนินดินสูงคล้ายหลังเต่า น้ำไม่ท่วม มีคูน้ำคันดิน 3 ชั้น ล้อมรอบไปตามเนินดินธรรมชาติ รอบ ๆ เนินดินเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะในฤดูฝนน้ำจะขังและพัดพาดินตะกอนมาทับถมทุกปี จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่เหมาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ บ้านน้ำล้อม บ้านน้ำทวน บ้านบุ้งหอย บ้านหนองลาน บ้านหนองน้ำสร้าง บ้านห้วยแก้ว
2. เขตที่สูงหรือเขตที่ราบลาดเชิงเขา ในบริเวณนี้พื้นที่มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดไม่สูงนักและตั้งอยู่ในที่ราบลาดเชิงเขา มีลำธารลำห้วยสายสั้น ๆ ไหลผ่าน น้ำไม่ท่วม พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการทำการเกษตรกรรม ได้แก่ บ้านโคกคล้าย บ้านโคกทอง บ้านโนนจันทร์ บ้านโนนตาโพน บ้านโนนมะเกลือและบ้านโนนนาก่าม
3. เขตภูเขาสูง แบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
3.1. เขตภูเขาสูงด้านทิศตะวันออก แนวเขาจะเรียงรายล้อมรอบ ชุมชนโบราณเมืองนครไทย ตั่งแต่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขาทางอ้อยอึ่ง เขานาตาดี เขาภูยอด เขาขมิ้น เขาน้อย เขาหินร่องกล้า เขาค้อ เขาน้ำริน เขาดิน เขาช้างล้วงและเขาตีนตก เป็นต้น
3.2. เขตภูเขาสูงด้านทิศตะวันตก มีทิวเขาสลับซับซ้อน วางตัวตั้งแต่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จนถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ทิวเขากระยาง เขาน้ำคลาด เขาวังภูเว้ยและเขาลมน้อย
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอชาติตระการ และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
อำเภอนครไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16O 47’ 01” ถึง 17O28’ 01” เหนือและเส้นแวงที่ 100O 35’ 24” ตะวันออก
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของอำเภอนครไทย แบ่งออกเป็น 3 เขต ใหญ่ ๆ คือ
1. เขตที่ราบภูเขา พื้นที่ราบของเมืองนครไทย มีรูปแบบ กระทะหงาย มีพื้นที่สูงและภูเขาเป็นขอบของที่ราบ ตอนกลางของที่ราบเป็นที่ตั้งตัวเมืองนครไทย มีลักษณะเป็นเนินดินสูงคล้ายหลังเต่า น้ำไม่ท่วม มีคูน้ำคันดิน 3 ชั้น ล้อมรอบไปตามเนินดินธรรมชาติ รอบ ๆ เนินดินเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะในฤดูฝนน้ำจะขังและพัดพาดินตะกอนมาทับถมทุกปี จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่เหมาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ บ้านน้ำล้อม บ้านน้ำทวน บ้านบุ้งหอย บ้านหนองลาน บ้านหนองน้ำสร้าง บ้านห้วยแก้ว
2. เขตที่สูงหรือเขตที่ราบลาดเชิงเขา ในบริเวณนี้พื้นที่มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดไม่สูงนักและตั้งอยู่ในที่ราบลาดเชิงเขา มีลำธารลำห้วยสายสั้น ๆ ไหลผ่าน น้ำไม่ท่วม พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการทำการเกษตรกรรม ได้แก่ บ้านโคกคล้าย บ้านโคกทอง บ้านโนนจันทร์ บ้านโนนตาโพน บ้านโนนมะเกลือและบ้านโนนนาก่าม
3. เขตภูเขาสูง แบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
3.1. เขตภูเขาสูงด้านทิศตะวันออก แนวเขาจะเรียงรายล้อมรอบ ชุมชนโบราณเมืองนครไทย ตั่งแต่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขาทางอ้อยอึ่ง เขานาตาดี เขาภูยอด เขาขมิ้น เขาน้อย เขาหินร่องกล้า เขาค้อ เขาน้ำริน เขาดิน เขาช้างล้วงและเขาตีนตก เป็นต้น
3.2. เขตภูเขาสูงด้านทิศตะวันตก มีทิวเขาสลับซับซ้อน วางตัวตั้งแต่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จนถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ทิวเขากระยาง เขาน้ำคลาด เขาวังภูเว้ยและเขาลมน้อย
สถานที่ตั้งอำเภอนครไทย
ที่ตั้ง :
อำเภอนครไทย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 96 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงเอเชียหมายเลข 12 สายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 67 ผ่านตำบลบ้านแยงไปถึงอำเภอนครไทย 29 กิโลเมตร
อำเภอนครไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 2,244.37 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีเนื้อที่มากที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก
เขตการปกครอง :
อำเภอนครไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่
1. ตำบลนครไทย
2. ตำบลบ้านแยง
3. ตำบลหนองกะท้าว
4. ตำบลนาบัว
5. ตำบลยางโกลน
6. ตำบลนครชุม
7. ตำบลน้ำกุ่ม
8. ตำบลเนินเพิ่ม
9. ตำบลบ่อโพธิ์
10.ตำบลบ้านพร้าว และ
11.ตำบลห้วยเฮี้ย
อำเภอนครไทย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 96 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงเอเชียหมายเลข 12 สายพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 67 ผ่านตำบลบ้านแยงไปถึงอำเภอนครไทย 29 กิโลเมตร
อำเภอนครไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 2,244.37 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีเนื้อที่มากที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก
เขตการปกครอง :
อำเภอนครไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่
1. ตำบลนครไทย
2. ตำบลบ้านแยง
3. ตำบลหนองกะท้าว
4. ตำบลนาบัว
5. ตำบลยางโกลน
6. ตำบลนครชุม
7. ตำบลน้ำกุ่ม
8. ตำบลเนินเพิ่ม
9. ตำบลบ่อโพธิ์
10.ตำบลบ้านพร้าว และ
11.ตำบลห้วยเฮี้ย
นครไทยเมืองแห่งโบราณคดี
ประวัติ ความ เป็น มาจากหลักฐานการวิจัยเรื่อง เครื่อง ถ้วย จาก การ ขุด ค้น ทาง โบราณ คดีที่ เมือง นคร ไทยสรุป ได้ ว่า เมือง นคร
ไทยมี อายุ ร่วม สมัย กับ เมือง เชลียง
อำเภอ ศรี สั ชนา ลัย จังหวัด สุโขทัย หรือ
มี อายุ ร่วม สมัย กับ เมือง บาง ยาง คือ
มี อายุ ประมาณ พ.ศ. 1700 เป็นต้น มา
ลักษณะ ทั่ว ไป
เป็น เนิน ดิน ธรรม ชาติ มี พื้น ที่ ประมาณ
142 ไร่
พื้น ที่ โดย รอบ เนิน ดิน อัน
เป็น ที่ ตั้ง เมือง โบราณ
เป็น ที่ ราบ ลุ่ม หุบเขา
และ มี ภู เขาล้อม รอบ
ส่วน รอบ เมืองนคร ไทย
โบราณ ยัง ปรากฏ ซาก คู น้ำ คัน ดิน 3
ชั้น ล้อม รอบ ในปัจจุบัน ได้ มี หน่วยงาน อาคาร
ร้าน ค้า
สร้าง ซ้อน ทับ แหล่ง โบราณ คดี เมือง นคร ไทย
อยู่
หลัก ฐาน ที่ พบ
ได้ สำรวจ พบ หลักฐาน ทาง โบราณ คดี เป็น
จำนวน มาก ได้ แก่
1. ภาพ สลักหิน ยุค หิน ใหม่ 2
แห่ง ที่ ผนัง
ถ้ำ เขา ช้าง ล้วง และ ที่ ผา ขีด
เขา ภู ขัด อำเภอ นคร ไทย
2. วัด โบราณ ได้ แก่
วัด กลาง ศรี พุทธา ราม วัด เหนือ
และ วัด หัว ร้อง ฯลฯ
3.
เครื่อง มือ เครื่อง ใช้ ของ มนุษย์ ยุค ก่อน ประวัติ
ศาสตร์ เช่น ขวาน หิน ขวาน โลหะ เครื่อง ประดับ
เป็นต้น
4. ใบ เสมา ศิลา ทราย
แกะ สลัก เป็น พระ สถูป
ศิลป แบบ ทวา รา วดี ตอน ปลาย
5. พระ พุทธ รูป เก่า แก่ เช่น พระ พุทธ รูป
ศิลา นาค ปรก 3 องค์ และ
พระ พุทธ รูป ศิลป สุโข ทัย 2 องค์
6.
เครื่อง ถ้วย มี รูป แบบ สมัย ก่อน ประวัติ ศาสตร์
สมัย สุโขทัย อยุธยา และ เครื่อง ถ้วย จีน
และ ยัง พบ โบราณ วัตถุ อื่น ๆ เช่น
เบี้ย เงิน พด ด้วง ขัน ลง หิน เป็นต้น
7. โบราณ วัตถุ อื่น ๆ ได้ แก่
กระจก และ เครื่อง ประดับ ที่ ทำ จาก หิน
เงิน พด ด้วง เบี้ย ขัน ลง หิน เป็นต้น
เส้น ทาง เข้า สู่ แหล่ง โบราณ คดี เมือง นคร ไทย
จาก ตัว เมือง พิษณุโลก
ไป ทาง ทิศ ตะวัน ออก เฉียง เหนือ ประมาณ
96 กิโลเมตร ตาม เส้น ทาง หลวง แผ่น
ดิน สาย พิษณุโลก - หล่ม สัก
เลี้ยว ซ้าย ตรง กิโลเมตร ที่ 67
ผ่าน ตำบล บ้าน แยง อีก 29 กิโลเมตร ถึง
เมือง นคร ไทย
หลัก
เส้น
ประวัติอำเภอนครไทย
ก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี บรรพบุรุษไทยถูกขอมรุกราน จึงถอยร่น จากเวียงไชยปราการ จ.เชียงราย มารวมพลตั้งมั่นที่เมืองบางยาง คือ อ.นครไทย ในปัจจุบัน โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว เป็น ผู้นำ โดยรวบรวมไพร่พลจนแข็งแกล่ง จึงร่วมกับพ่อขุผาเมือง เจ้าเมืองลาด(เมืองเพชรบูรณ์) ยกทัพ ไปตี เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย จนได้ชัยชนะจากขอม จึงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ครองเมืองสุโขทัย เป็นเอกราชประมาณ พ.ศ.1763 ปรากฎหลักฐาน ที่สำคัญคือ วัดกลางศรีพุทธาราม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก ที่ว่าการ อ.นครไทย ประมาณ 500 เมตร มีต้นจำปาขาวใหญ่ อยู่ต้นหนึ่งมีความ เชื่อกันว่า มีอายุมานานพร้อมกับพ่อขุนบางกลางหาว เริ่มสร้างเมืองบางยาง นั่นเอง ซึ่งพิสูจน์ แล้วว่า มีอายุประมาณ 700 ปีเศษ
หลักฐานที่สำคัญ ว่าเมืองบางยางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครไทย" มีปรากฎอยู่ ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ว่าศักราช 839 ระกา(พ.ศ.2020) แรกตั้งเมือง นครไทย พ.ศ.2020 นี้เป็นระยะที่อยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น นักอักษรศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ ซึ่งได้จัดการปกครองบริเวณ หัวเมืองต่างๆ นอกเมืองหลวงให้เป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายแก่การ ปกครองควบคุม ตรวจตรา จึงได้ยกฐานะเมืองบางยาง เป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครอง แล้วเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า "เมืองนครไทย" เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งพระองค์ทรงเปลี่ยน มาแล้ว เช่นเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เมืองสระหลวงเป็นเมืองพระจิตร และเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น
นับแต่ พ.ศ. 2020 เป็นต้นมา เมืองนครไทยก็มีฐานะเป็นเมืองที่มีเจ้าเมือง
หรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลด ฐานะ เมืองนครไทยมาเป็น "อำเภอเมืองนครไทย" แล้วแต่งตั้งนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรก คือ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ (เป๋า บุญรัตนพันธ์) และเป็นอำเภอนครไทย เมื่อ พ.ศ.2497 เพื่อให้เหมาะสมกับการ เรียก ชื่อตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน
คำขวํญประจำอำเภอ
"พ่อขุนบางกลางหาวจ้าวนคร ดินแดนอนุสรณ์ภูร่องกล้า จำปาขาวสวยสุดสะดุดตา ประเพณีปวงข้าปักธงชัย"
ราชานุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และต้นจำปาขาว
หลักฐานที่สำคัญ ว่าเมืองบางยางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครไทย" มีปรากฎอยู่ ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ ว่าศักราช 839 ระกา(พ.ศ.2020) แรกตั้งเมือง นครไทย พ.ศ.2020 นี้เป็นระยะที่อยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น นักอักษรศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ ซึ่งได้จัดการปกครองบริเวณ หัวเมืองต่างๆ นอกเมืองหลวงให้เป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายแก่การ ปกครองควบคุม ตรวจตรา จึงได้ยกฐานะเมืองบางยาง เป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครอง แล้วเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า "เมืองนครไทย" เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งพระองค์ทรงเปลี่ยน มาแล้ว เช่นเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เมืองสระหลวงเป็นเมืองพระจิตร และเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น
นับแต่ พ.ศ. 2020 เป็นต้นมา เมืองนครไทยก็มีฐานะเป็นเมืองที่มีเจ้าเมือง
หรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลด ฐานะ เมืองนครไทยมาเป็น "อำเภอเมืองนครไทย" แล้วแต่งตั้งนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรก คือ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ (เป๋า บุญรัตนพันธ์) และเป็นอำเภอนครไทย เมื่อ พ.ศ.2497 เพื่อให้เหมาะสมกับการ เรียก ชื่อตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน
คำขวํญประจำอำเภอ
"พ่อขุนบางกลางหาวจ้าวนคร ดินแดนอนุสรณ์ภูร่องกล้า จำปาขาวสวยสุดสะดุดตา ประเพณีปวงข้าปักธงชัย"
ราชานุสาวรีย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และต้นจำปาขาว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)