วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประมวลภาพพยานาคพิษณุโลก

ประมวลภาพจากกล้องถ่ายรูปพระยานาค
 บ้านน้ำกุ่ม ต.น้ำกุ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
เรื่องนี้มีพยานาคทั้งหมด 4 ตัว
  1. พระนางสุดาเทวี เป็นผู้ใช้ร่างทรง และสร้างรอยบนต้นมะพร้าว
  2. พระยานาคราชสุทโธโกษี เจ้าครองบาดาล อาศัยอยู่ในบาดาล บริเวณ  วังวน วัดมหาธาตุ หรือวัดวังวน ซึ่งใช้อิทธิฤทธิ์สร้างรอยบนรถ บนพื้นบ้านให้ชาวบ้านดู
                                                3. พยานาคปู่อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำบ้านน้ำกุ่ม  นครไทย  พิษณุโลก
                                                4. พระยานาคย่า อาศัยในแอ่งน้ำบ้านน้ำกุ่ม นครไทย พิษณุโลก


รอยพระยานาคบนรถ

รอยพระยานาคบนพื้นบ้าน



         ภาพนี้ถ่ายจากมือถือซึ่งก่อนถ่ายได้จุดธูปสวดมนต์และนั่งสมาธิ กราบขอชมบารมีพระยานาค
                             และถ่ายลงบนน้ำ ซึ่งปราฏเป็นภาพปู่และย่าพยานาค ตามภาพ.
                                                  ภาพนี้เป็นภาพพยานาคในน้ำ 
                                                     ภาพนี้เป็นพยานาคในน้ำโดยใช้มือถือ
ภาพพยานาคคาบลูกแก้วถ่ายในน้ำโดยใช้มือถือถ่าย
ภาพร่างทรงพยานาค แม่นางสุดาเทวี
แอ่งน้าบ้านน้ำกุ่มที่เชื่อว่าพยานาคปู่และัย่า อาศัยอยู่
 
ภาพถ่ายปู่พยานาคขณะเลื้อยเข้าถ้ำใต้น้ำบ้านน้ำกุ่ม


ชาวพิษณุโลกตื่น พบรอยพยานาคทั่วบ้าน

ตะลึงพบพระยานาคราช รุ่นคุณปู่ บนบึงใหญ่ พิษณุโลก

ภาพนี้เป็นภาพถ่ายพยานาคตัวใหญ่ลำตัวเท่าคน เลื้อยเข้าสู่ถ้ำหินใต้น้ำ บริเวณอ่างน้ำกุ่ม อ.น้ำกุ่ม จังหวัดพิษณุโลก  เป็นพญานาคเกร็ดสีทอง


วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โรงพยาบาลนครไทย โรงพยาบาลแห่งคุณภาพ

ผู้เขียนเอง มีภรรยาอยู่นครไทย และเคยเข้าใช้บริการที่ อำเภอนครไทย รู้สึกประทับใจในเรื่องการบริการ ห้องคลอดเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งได้ให้ภรรยา คลอดบุตรทั้งสองคน ที่อำเภอนครไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 55
พนักงานพูดจาเพราะ และการบริการที่ดี  ค่ารักษาพยาบาลก็ไม่แพง การรักษาก็ไม่แพ้โรงบาลเอกชนแถวในเมือง ครับ ผู้เขียนขอขอบคุณพนักงานที่ดูแลเราอย่างเป็นกันเองครับ

พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ "พ่อขุนบางกลางท่าว"


เมืองนครไทย Nakhonthai_E-Book
http://issuu.com/nakhonthai

พระราชประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พระบรมนามาภิไธย พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง)
พระปรมาภิไธย กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ระยะครองราชย์ ไม่ทราบ
พระมเหสี พระนางเสือง
พระราชโอรส/ธิดา มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางท่าว ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด

พระนาม
1.บางกลางหาว
2.ศรีอินทราทิตย์
3.อรุณราช
4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
5.พระร่วง หรือโรจนราช
สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง

พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์


พระนางเสือง
นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า “...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...”
คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือ นางเสืองนั่นเอง
สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ(กษัตริย์)จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์
ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้
ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง
ทางจังหวัดจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี
ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย

แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาชีพของชาวนครไทย

เกษตรกรรม อาชีพหลักชาวนครไทย คือการเกษตรกรรมและเกษตรกรชาวนครไทยส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพเกษตรตามวิธีแบบเก่า คือพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ หากปีใดฝนตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตก็จะดีตามไปด้วย หากปีใดฝนตกน้อยผลผลิตก็จะลดลง
ความนิยมด้านเกษตรกรรม
การเพาะปลูกพืชไร่
เกษตรกรนิยมเพาะปลูกพืชไร่อันดับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกไร่มากถึง 257,015 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 75.75 ของพื้นที่ถือครองทำการเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่ พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว มันสำปะหลังและถั่วลิสง
การทำนา เป็นอาชีพอันดับสองรองจากพืชไร่ คือ นาประมาณ 58,244 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 17.11 ของเนื้อที่ถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,347 ไร่
การทำสวน
ชาวนครไทยนิยมทำสวนผลไม้ไว้ตามบริเวณหลังบ้าน หรือบริเวณหัวไร่หรือปลายนา ผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ มะม่วง มะขาม ส้มโอ กระท้อน กล้วยน้ำหว้า พบว่าเนื้อที่ที่ใช้ปลูกผลไม้มีประมาณ 21,444 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.24 ของเนื้อที่การถือครองทำเกษตรทั้งหมด 340,374 ไร่
การปลูกพืชผัก
จากการสำรวจพบว่าประชากรในเขตอำเภอนครไทยนิยมปลูกพืชผักประมาณ 3,671 ไร่ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นอาชีพเสริมหรือปลูกไว้รับประทานในครอบครัวโดยใช้เวลาว่างจากการทำไร่ ทำนา แต่การปลูกพืชจะปลูกตลอดปีและนิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูหนาว

หัตถกรรมพื้นบ้าน ประชากรในเขตอำเภอนครไทยเกือบทุกครอบครัวจะนิยมทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว ปัจจุบันทางศูนย์วัฒนธรรมอำเภอนครไทยได้พยายามฟื้นฟูอาชีพทอผ้า แต่ความนิยมเรื่องหัตถกรรมทอผ้าก็ยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กนอกจากทอผ้าก็ยังมีอาชีพทำไม้กวาดที่บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว และชาวไทยภูเขาบนพื้นที่ภูหินร่องกล้า มีการผลิตดอกไม้กวาดโดยจัดประดิษฐ์เรียงเป็นก้าน ประดิษฐ์เป็นพุ่มรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดเล็กที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวไทยภูเขา ตลอดปี

ธุรกิจและการค้าขายของนครไทย

แหล่งธุรกิจการค้า เขตเทศบาลของอำเภอนครไทยถูกจัดเป็นแหล่งธุรกิจการค้าที่สำคัญโดยมีตลาดเทศบาลเป็นแหล่งหรือเป็นศูนย์กลางค้าขาย ราคาซื้อขายถ้าเป็นของพื้นบ้าน จะราคาถูกกว่าราคาขายในอำเภอเมืองพิษณุโลก
อำเภอนครไทยมีสถาบันทางการเงิน 3 แห่ง คือ
1. ธนาคารออมสิน เปิดทำการเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2526
2. ธนาคารกรุงไทย เปิดทำการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2527
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร เปิดบริการด้านการเงินแก่สมาชิกกลุ่มสหกรณ์และบุคคลทั่วไป
4.ธนาคารไทยพานิชย์